การจัดการศึกษา
– การจัดการศึกษาระดับอนุบาล
การจัดการศึกษาระดับอนุบาล เป็นการเตรียมความพร้อมให้แก่เด็ก มิใช่การ สั่งให้พร้อม หรือ เร่งให้พร้อม ก่อนวัย แต่เป็นการพัฒนาเด็กตามศักยภาพอย่างเหมาะสม มีลักษณะพิเศษที่แตกต่างจากการศึกษาระดับอื่น ๆ ทั้งนี้เพราะ เด็กวัยนี้เป็นช่วงแห่งพัฒนาการของอนาคต ซึ่งเป็นวัยที่สำคัญ ต่อการวางรากฐานชีวิต บุคลิกภาพ และการพัฒนาสมอง
– ลักษณะการจัดการศึกษา
เป็นการจัดการศึกษาเพื่อดูแลและสร้างเสริมพัฒนาการทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม จิตใจ และสติปัญญา โดยมุ่งเน้นไปที่
– พัฒนาการเด็ก หมายถึง การจัดการเรียนการสอนที่ครูจัดขึ้นตรงตามระดับพัฒนาการตามวัยและครอบคลุม เพื่อส่งเสริมพัฒนาการ โดยองค์รวม (พัฒนาการทางด้าน ร่างกาย อารมณ์ สังคม จิตใจ และสติปัญญา)
– ใจเด็ก หมายถึง การเรียนการสอนที่ครูจัดขึ้น โดย คำนึงถึงความต้องการ ความสนใจตามวัย เพื่อให้เด็กมีความสุข และมีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนรู้
– อนาคตเด็ก หมายถึง การจัดการเรียนการสอน เพื่อ สร้างความพร้อมให้เด็กเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณค่า มีความสามารถ ปรับตัวเข้ากับสังคมและมีทักษะทางปัญญาตามวัย
– การจัดการศึกษา
เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับเด็กวัยนี้ ต้องอาศัยความตระหนักของบุคคลที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ได้แก่
– คุณพ่อ คุณแม่ (Viewing Parents) ซึ่งถือเป็นครู คนแรกและเป็นแบบอย่างให้แก่ลูก พ่อแม่เป็นบุคคลแรกที่ลูกรู้จัก เป็นผู้ปลูกฝังความคิดและพัฒนาบุคลิกภาพตลอดจนศักยภาพทางสังคม
– คุณครู (Feeling Teachers) เป็นแม่คนที่สอง ที่มีวิญญาณแห่งความเป็นครู ให้ความรักความอบอุ่นแก่เด็ก แต่มิใช่ การตามใจ เป็นความรักที่กระทำอย่างมีเหตุผลไม่มากและไม่น้อยเกินไป
– ผู้บริหาร (Friendly Administrators) เป็นกัลยาณมิตร ที่มีความเข้าใจถึงความละเอียดอ่อน และเห็นความสำคัญต่อ การวางรากฐานของชีวิต พร้อมจะสนับสนุนให้การจัดการศึกษา ระดับอนุบาล มีคุณภาพสูงสุดต่อเด็ก ฉะนั้นการจัดการศึกษาที่ดีสำหรับเด็ก ก็ควรที่จะเหมาะกับวัย และเป็นไป อย่างสอดคล้องกับธรรมชาติของเด็ก สรรค์สร้างบรรยากาศ สภาพแวดล้อมภายนอกที่ร่มรื่น สะอาด ปลอดภัย รวมถึง การจัดสภาพแวดล้อมภายในห้องเรียนที่มี มุมการเรียนรู้ ที่เปิดโอกาสให้เด็กได้เลือก ได้เล่น ได้เรียนรู้ เพราะห้องที่เห็นว่า ห้องเล่น ของเด็กวัยนี้ก็คือ ห้องเรียนของพวกเขานั่นเอง
– มุมการเรียนรู้ที่ช่วยส่งเสริมพัฒนาการ
– มุมบทบาทสมมติ เช่น มุมบ้าน-มุมครัว มุมหมอ มุมร้านค้า เป็นต้น อันมีอุปกรณ์ และวัสดุ เช่น เสื้อผ้า เครื่องครัวถ้วยชาม ฯลฯ ที่เด็กจะได้เรียนรู้บทบาทสมมติของบุคคล และหน้าที่รับผิดชอบ
– มุมวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ ช่วยให้เด็ก ๆ จะได้ฝึกทักษะการสำรวจ ค้นหาการสังเกตความเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์จากความสนใจของเด็กเอง วัสดุ อุปกรณ์ ที่เตรียมให้เช่น อ่างปลา เครื่องชั่งตวงวัด แว่นขยาย วัสดุธรรมชาติ ฯลฯ
– มุมศิลปะ ช่วยพัฒนาเรื่องของกล้ามเนื้อมือ ตลอดจนสายตา และการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ ได้สร้างผลงานจากจินตนาการความรู้สึกนึกคิด ประกอบด้วยกิจกรรม การปั้น กิจกรรมสีน้ำ กิจกรรมสีเทียน กิจกรรมประดิษฐ์ ที่เด็ก ๆ จะได้เรียนรู้
– มุมบล็อก ช่วยให้เด็กจะได้เรียนรู้เรื่องโครงสร้าง และมิติสัมพันธ์ ได้คิดสร้างสรรค์ สถาปัตยกรรมจำลองจากมือเล็ก ๆ ของเด็ก
– มุมหนังสือ ช่วยให้เด็กจะได้ซึมซับถึงความสำคัญของการอ่าน อันเป็นรากฐานของการเรียนรู้ ค้นคว้า และเกิดจินตนาการที่งดงามจากการอ่านนิทานหรือหนังสือ ที่พวกเขาสนใจ
การพัฒนาเด็ก ไม่ควรพรากการเล่นออกจากชีวิตของเขา เพราะ เด็กกับการเล่นเป็นของคู่กัน และเล่นคือการเรียนรู้ของเด็ก ซึ่งสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี หรือ สมเด็จย่า ท่านทรงเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาเด็กด้วยการเล่น และการใช้กิจกรรมพัฒนาพระโอรส และพระธิดาทุกพระองค์ ดังนี้คุณสุมาลัย ชุตินันท์ พระพี่เลี้ยง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อานันทมหิดล ได้กล่าวถึง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เมื่อพระชนมพรรษาประมาณ 2 ชันษาว่าตอน ทรงพระเยาว์จะอยู่ในที่ที่มีลูกกรงกั้น ทรงมีของเล่นเยอะมาก วันหนึ่งฉันคลานผ่านไป เป็นเวลาพักจะไม่มีคนเฝ้า เพราะสมเด็จพระชนนีไม่โปรด ท่านต้องการให้พักเพียงเงียบๆ หรือเล่นเงียบๆ เพื่อ ให้พระองค์เล็กๆ ใช้พระสติปัญญาว่าจะทรงต่อหรือเล่นอย่างไรกับของเล่น เป็นเรื่องของการฝึกพระสติปัญญาให้เป็นคนฉลาด และสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนากรมหลวงนราธิวาส ราชนครินทร์ ทรงกล่าวว่า “พวกเราได้อยู่กลางแจ้งมาก ได้สูดอากาศบริสุทธิ์ เวลานั้นอากาศวังสระปทุมยังบริสุทธิ์เพราะอยู่นอกเมือง เราจะใช้เวลาเล่นกัน เพราะแม่ถือว่าการเล่นเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับเด็ก”
การจัดการศึกษาระดับอนุบาลที่สัมฤทธิ์ผล คือ ภาพสะท้อนทัศนคติ ที่เกิดขึ้นในหัวใจของเด็กว่า โรงเรียน ของหนูน่าอยู่ หนูอบอุ่น ตั้งแต่ก้าวแรก หนูหายใจสะดวก อากาศบริสุทธิ์ มีที่ว่างให้หนูวิ่งเล่น ห้องเรียนของหนูน่าเรียนรู้ มีมุมการเรียนรู้ที่ท้าทายให้หนูคิดสร้างสรรค์ และหนูจะเติบโตขึ้นอย่างสมบูรณ์ ทั้งร่างกายที่แข็งแรง ช่วยเหลือตัวเองได้ มีเพื่อน รักเพื่อน รักครู และหนูก็พร้อมที่จะอ่าน เขียน ด้วยกำลังใจ ที่ได้รับจาก คุณพ่อ คุณแม่ และคุณครูที่ใจดีครับ/ค่ะ
– การเรียนการสอนแบบสองภาษา (Bilingual)
การจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสาน 2 ภาษา คือ ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถใช้ภาษาทั้งสองได้เป็นอย่างดี นักเรียนจะมีครูชาวต่างชาติเจ้าของภาษา และครูไทยประจำชั้น คอยเอาใจใส่สอนวิชาตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการ นักเรียนจึงได้เรียนวิชาต่าง ๆ ทั้งภาษาอังกฤษและภาษาไทย นอกจากนั้นนักเรียนยังได้เรียนคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัย เรียนว่ายน้ำ มีทัศนศึกษานอกสถานที่นักเรียนจะศึกษาและเข้าใจเรื่องราว ความรู้ ยุคใหม่ แบบอย่างของโลกตะวันตก บนพื้นฐานความงดงามของวัฒนธรรมและประเพณีของไทย
-โครงสร้างหลักสูตรสองภาษา (Billingual) ในแต่ละระดับชั้น
– หลักสูตรการศึกษา
– เป้าหมายและผลที่คาดว่าจะได้รับ
2. เด็กได้เรียนรู้ทั้งวิชาหลักเหมือนนักเรียนไทยทั่วไป และยังได้เรียนรู้เนื้อหาเดียวกัน แต่มากกว่าใน รายละเอียดเป็นภาษาอังกฤษ
3. เด็กเกิดวุฒิภาวะของการรับผิดชอบต่อตนเองสูงสุดจากแนวการสอนแบบอารยประเทศ โดยครูเจ้าของ ภาษาและครูชาวไทยที่ให้การดูแลอย่างใกล้ชิด
4. เยาวชนยังคงไว้ซึ่งขนบธรรมเนียมอันดีงามของไทย ควบคู่ไปกับความรอบรู้ด้านวิทยาการใหม่ๆ และมี โลกทัศน์ (World Vision) ที่กว้างขึ้น
5. ได้เยาวชนที่เป็นพลังของชาติ เป็นทรัพยากรบุคคลที่มีประสิทธิภาพ มีความรู้กว้างไกล มีความรับผิดชอบ ต่อตนเอง สังคมและประเทศชาติ รักความสามัคคีและการทำงานเป็นหมู่คณะ ซึ่งจะเป็นกำลังที่สำคัญใน การพัฒนาประเทศสืบต่อไป